top of page

ไขรหัสการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตอนที่ 2 - ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ



บทความนี้เป็นบทความที่มีเนื้อหาต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้าที่มีชื่อว่า ไขรหัสการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตอนที่ 1 - ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ โดยในบทความตอนแรกเราได้พูดถึงความหมายและหน้าที่ของภูมิคุ้มกันโดยรวม รวมไปถึงพาไปรู้จักและทำความเข้าใจการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ซึ่งเป็นด่านแรกสุดของระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนในบทความตอนนี้เราจะเริ่มจากการอธิบายการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะชนิดสุดท้าย ซึ่งมีความสำคัญในการเชื่อมระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะและภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะเข้าด้วยกัน และเน้นการอธิบายการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เหลือ ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามเนื้อหากันต่อได้เลยค่ะ


เซลล์เดนไดรติก (เซลล์ส่งสัญญาณแอนติเจน)

การส่งสัญญาณแอนติเจน เป็นกิจกรรมสำคัญในการทำงานของปฏิกริยาตอบสนองแบบใช้แอนติเจนจำเพาะ เซลล์ส่งสัญญาณแอนติเจนจะกลืนกินเชื้อโรค ประมวลผล และส่งสัญญาณแอนติเจนของเชื้อโรคชนิดนั้นไปยัง T-cell เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันจำเพาะหรือ ภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต จริงๆแล้วเซลล์ส่งสัญญาณแอนติเจนนั้นรวมไปถึง แมคโครฟาจ, B-Cell และ เซลล์เดนไดรติก แต่อย่างไรก็ตาม เซลล์เดนไดรติกก็เป็นตัวหลักในการทำหน้าที่เชื่อมระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะและภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะเข้าด้วยกัน

เซลล์เดนไดรติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เซลล์เดนไดรติกไมอีลอยด์ และ เซลล์เดนไดรติกพลาสมาไซตอยด์ ซึ่งเซลล์เดนไดรติกทั้งสองประเภทมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูก ระหว่างการบุกรุกของเชื้อโรค เซลล์เดนไดรติกจะค้นหาผู้บุกรุกด้วยการใช้ตัวรับซึ่งตอบสนองโครงสร้างบางแบบของเชื้อโรค (pattern recognition receptors) เมื่อพบแล้วก็ทำการกลืนกิน และนำพาแอนติเจนของเชื้อโรคนั้นไปยังต่อมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็ว เพื่อจะนำไปส่งต่อให้ T-Cell และก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อไป



จำนวนและการแพร่กระจายของเซลล์เดนไดรติกนั้นลดลงไปตามอายุของร่างกาย

อายุที่เพิ่มขึ้นของร่างกายมีผลกระทบให้เซลล์เดนไดรติกในมีจำนวนที่ลดลงและการแพร่กระจายที่เสื่อมลงไป แต่ก็ยังมีงานทดลองที่ให้ผลที่ขัดแย้งในเรื่องนี้อยู่ เนื่องจากพบว่าในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีนั้นสามารถมีจำนวนเซลล์เดนไดรติกที่มากกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยและอ่อนแอ นอกจากนั้นยังพบความถดถอยในการตอบโต้ต่อการอักเสบของเซลล์เดนไดรติกในผู้สูงอายุอีกด้วย เนื่องจากการตอบสนองต่อไซโตไคน์ชนิดอินเตอร์เฟียรอน ของเซลล์เดนไดรติกพลาสมาไซตอยด์ลดลง ซึ่งเชื่อมโยงกับสถิติว่าผู้สูงอายุจะมีอาการป่วยและอัตราการตายที่สูงขึ้นเมื่อได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่และไวรัสเวสต์ไนล์



ระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ ทำงานอย่างไร?

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ เมื่อสามารถระบุสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายด้วยแอนติเจนจำเพาะ โดยต้องใช้เวลา 4-7 วันในเรียนรู้และจดจำ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะสามารถตอบโต้เชื้อโรคเดิมที่เคยเข้ามาสู่ร่างกายได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่เหล่านี้จะประกอบไปด้วย B-Cell ที่ทำหน้าที่สร้างแอนติเจนจำเพาะ และ T-cell ชนิดต่างๆที่มีหน้าที่จำเพาะของตนเอง


ทำความรู้จักเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะกันบ้างดีกว่า

1. B-Cell


เป็นเซลล์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสเต็มเซลล์จากไขกระดูกที่มีชื่อว่า haematopoietic stem cells เจ้าตัว B-Cell นั้นมีหน้าที่หลักในการหลั่งแอนติบอดีจำเพาะที่ตอบโต้ต่อแอนติเจนจำเพาะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการติดเชื้อแบคทีเรียจากภายนอก หรือเมื่อร่างกายได้รับวัคซีน หลังจากการสร้างจาก B-Cell แอนติบอดีจะถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อเดินทางไปทั่วร่างกาย และทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคที่เป็นอันตรายผ่านกระบวนการทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจับกับแอนติเจนโดยตรง, การไปเคลือบที่ผิวของผู้บุกรุก ในกรณีที่มีเชื้อโรคบุกเข้ามาหรือทำร้ายเซลล์ในร่างกาย

จำนวนและการสร้างแอนติบอดีของ B-Cell เสื่อมไปตามอายุของร่างกาย

แอนติบอดีสามารถไปช่วยเสริมกระบวนการอื่นๆในระบบภูมิคุ้มกันได้ เช่น โปรตีนคอมพลีเมนต์ ที่ช่วยไปเสริมการทำลายเชื้อโรค นอกจากนั้นยังสามารถชี้ระบุตัวเชื้อโรคให้แก่เซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆได้อีกด้วย B-cell ชนิดที่มีความจำถูกสร้างขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับเชื้อโรคตัวเดิมที่เข้ามาสู้ร่างกาย จำนวนของ B-Cell จะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 34 ปี และ พบว่าอัตราส่วนของ B-Cell ประเภทต่างๆจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น โดยจำนวนของ B-cell ชนิดที่มีความจำ จะมีจำนวนมากขึ้น แต่ B-Cell ธรรมดาจะมีจำนวนลดลง นอกจากนั้นอายุที่เพิ่มมากขึ้นยังมีผลต่อการสร้างแอนติบอดีอีกด้วย ดังจะเห็นว่าผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อวัคซีนได้ช้ากว่า และเมื่อเกิดการอักเสบในผู้สูงอายุ จะมีอาการหนักและมีระยะยาวนานมากกว่าด้วย


2. T-Cell


เซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ที่มีจำนวนมากที่สุดในเลือดของเราคือ T-Cell ในขณะที่ B-Cell มีแหล่งกำเนิดมาจากไขกระดูก แต่เซลล์ต้นกำเนิดของ T-Cell ย้ายไปเจริญเติบโตที่ต่อมไทมัส T-Cell สามารถแบ่งแยกด้วย ตัวรับ (T-cell receptors) ซึ่งจะแบ่งพวกมันออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ CD4 และ CD8 เซลล์ทั้งสองชนิดมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับระบบภูมิคุ้มกันทั้งแบบจำเพาะและไม่จำเพาะ เซลล์ CD4 หรือที่เรียกว่า T helper เนื่องจากทำหน้าที่ส่งเสริมเม็ดเลือดขาวอื่นๆในกระบวนการต่างๆ การสร้างแอนติบอดีจำเพาะ ในขณะที่ CD8 หรือที่เรียกว่า cytotoxic T cells ทำหน้าที่สำคัญในการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ รวมไปถึงเซลล์ที่ติดเชื้อด้วยการหลั่งไซโตไคน์ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

จำนวนและการทำงานของ T-Cell ที่เปลี่ยนไปตามอายุของร่างกาย

เช่นเดียวกับ B-Cell เมื่ออายุมากขึ้น จำนวนของ T-cell จะลดลง เนื่องจาก T-Cell เจริญเติบโตบริเวณต่อมไทมัส ซึ่งมีการเสื่อมไปตามอายุที่มากขึ้นด้วย และมันส่งผลกระทบต่อ ทั้ง CD4 และ CD8 ในทางที่ต่างกัน นั่นคือ CD4 จะมีจำนวนที่ลดลงน้อยกว่า CD8 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามอายุของเซลล์ CD8 นั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและมีผลมากที่สุดในระบบภูมิคุ้มกัน เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุจึงมีอันตรายมากกว่ามากเมื่อเกิดการติดเชื้อ


และทั้งหมดนี้คือกระบวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ถึงแม้จะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดใช่ไหมล่ะคะ ในคราวหน้า อิมมูคอร์ (Immucore) จะนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเรื่องไหนมาฝากผู้อ่านกันอีก อย่าลืมติดตามกันได้ในบทความถัดไปค่ะหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อิมมูคอร์ (Immucore) สามารถติดต่อได้ที่ Line@: @innerwell หรือ www.innerwell.me

Comments


bottom of page